วิธีดูแล ลูกกระต่ายที่ยังไม่หย่านม
1. ให้ใช้นมสำหรับสัตว์กำพร้า เช่น นมแพะ หรือ Esbilac หรือ KMR (นมสำหรับลูกแมว) หรือหากยังหาได้ไม่ทัน ให้ป้อนนมวัวไปก่อน และรีบหานมแพะ หรือ Esbilac หรือ KMR มาแทนโดยเร็ว และค่อยๆป้อนลูกกระต่าย กระต่ายยังไม่หย่านม ที่นำมาขายกัน น่าจะมีอายุประมาณ 3 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน ให้ป้อนประมาณ 30 cc ต่อวัน
2. หากมีกระต่ายตัวอื่นที่โตแล้ว ให้เอาอึ กระต่ายที่เรียกว่า cecotropes หรือ อึที่ลักษณะเหมือนพวงองุ่น ติดกัน สีออกเขียวขี้ม้าให้เอาอึนี้มาผสมกับ นมที่ป้อนลูกกระต่าย เพราะว่า ลูกกระต่ายต้องการ แบคทีเรียที่ใช้ในการย่อยอาหาร ซึ่งไม่สามารถจะได้รับจากแม่ เนื่องจากแยกจากแม่มาเร็วเกินไป โดยใช้อึ cecotropes แค่ 1 ก้อน สำหรับ 4-5 วัน ซึ่งจำเป็นมากๆ นะคะ สำหรับลูกกระต่ายที่โดนแยกออกมาทั้งๆที่ยังไม่หย่านม
3. สำหรับลูกกระต่าย ควรให้หญ้าค่ะ ไม่ว่าจะเป็น หญ้าขน หญ้าอัลฟาฟ่า หรือ ทิโมธี ก็ได้ค่ะ และหลีกเลี่ยงผักผลไม้ที่มีน้ำมากๆ เพราะจะทำให้ท้องเสียได้ ซึ่งถ้าลูกกระต่ายท้องเสีย ถือว่า อันตรายถึงแก่ชีวิตได้ง่ายมากๆ และเมื่อลูกกระต่ายอายุ 6 สัปดาห์จึงค่อยเริ่มหัดให้กินอาหารเม็ด แต่ว่า
ที่สำคัญคือ ระยะการเปลี่ยนมากินอาหารเม็ดนี้ เป็นระยะที่เสี่ยงแก่การที่ลูกกระต่ายจะท้องเสีย เป็นอย่างมาก จึงควรหมั่นสังเกตตลอดว่า ลูกกระต่ายท้องเสียหรือไม่ ที่สำคัญในระยะที่เริ่มสอนให้ลูกกระต่ายกินอาหารเม็ด ห้ามไม่ให้เอาหญ้าออกนะคะ เพราะว่า การเปลี่ยนอาหารต้องเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป เพราะระบบย่อยอาหารของลูกกระต่ายจะปรับตัวไม่ทัน และจะทำให้ท้องเสียได้เช่นกัน ระยะแรกๆ ควรให้อาหารเม็ดแค่น้อยๆ เพื่อบังคับให้ลูกกระต่ายกินหญ้าไปด้วย แล้วค่อยๆเพิ่มทีหลังทีละนิดค่ะ ในระยะนี้ เราควรป้อน cecotropes หรือ อึพวงองุ่นให้ลูกกระต่ายด้วยค่ะ เพื่อเสริมแบคทีเรียที่จำเป็นต่อการย่อยค่ะ
4. นอกจากนี้ เราไม่ควรจะพาลูกกระต่ายที่ยังไม่หย่านม เดินทางไปไหน เพราะอาจจะ ตากแดด ตากลมมากเกินไปค่ะ เพราะเค้ายังอ่อนแอ ไม่ควรพาเดินทางค่ะ
สรุปว่า การเลี้ยงลูกกระต่ายที่ยังไม่หย่านมนั้น จะค่อนข้างลำบาก เพราะว่า ลูกกระต่ายเองก็เปราะบาง ไม่แข็งแรง และ เสียชีวิตได้ง่ายค่ะ แม้กระทั่งผู้เลี้ยงหลายๆคนที่เก่ง และเลี้ยงกระต่ายมานาน ยังพบปัญหาจากการที่ลูกกระต่ายท้องเสียตายอยู่บ่อยๆ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น